Knowladge

คำถามที่พบบ่อย

ฟิล์มกันรอยจะช่วยปกป้องรถของคุณด้วยการสร้างชั้นป้องกันที่แข็งแรงให้กับสีรถช่วยป้องก้น จากฝุ่นควัน สารเคมี คราบสกปรกต่างๆ และรอยขีดข่วนรอยวนที่มีโอกาสเกิดกับรถของทุกคนเพื่อทำให้รถของเราดูใหม่อยู่เสมอในอีกหลายปีข้างหน้า ฟิล์มกันรอยได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ทนต่อแรงกระแทกจากสะเก็ดหิน เศษวัสดุต่างๆ ที่อาจทำให้สีรถของคุณเป็นรอยได้ ฟิล์มกันรอยยังทนทานต่อรังสี UV และสารเคมี ให้ความเงาใส ช่วยเพิ่มความเงาฉ่ำให้สีรถของคุณ

ฟิล์มใสกันรอยรถยนต์ แบบใส แบบด้าน แบบสะท้อน แบบคาร์บอน หรือแบบเป็นสีต่าง ๆ ดีไซน์ออกแบบมาเพื่อเป็นทางเลือกให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าในการปกป้องสีรถยนต์มากที่สุด นั่นเองโดยปกติจะมีความหนาอยู่ที่ 6-8 มิลล์ฟิล์ม หรือ 180-250 ไมครอน

ฟิล์มใสกันรอยรถยนต์ ที่พบเจอในท้องตลาดทุกวันนี้ มีด้วยกัน 3 เกรดใหญ่ ๆ
PVC (Polyvinylchloride) – เป็นเนื้อฟิล์มที่มีลักษณะแข็ง ยืดหยุ่นได้น้อย ต้องใช้ความร้อนในการติด ตั้งทุกขั้นตอน เพื่อให้ฟิล์มสามารถยึดตัว ห่อหุ้มเข้ากับตัวรถได้ สามารถกันรอย
ขีดข่วน กันรอยสะเก็ด หินได้น้อยส่วนใหญ่มักพบเจอกับการ wrap สีรถ เปลี่ยนสีรถยนต์ เพื่อความสวยงาม แต่ถ้าเน้นกันรอย กันสะเก็ดหิน ปกป้องตัวรถ ฟิล์ม pvc
จะไม่ค่อยเหมาะเท่าไหร่นัก
TPH (Thermoplastic polyreuthane hybrid) หรือบางเจ้าเรียกฟิล์มชนิดนี้ว่า
ฟิล์ม PU- เป็นเกรด ฟิล์มกันรอยรถยนต์ เกรดกลาง ที่ผสมผสาน PVC กับสารปรุงแต่งอื่นๆเข้าด้วยกัน เพื่อต้นทุนที่ถูกลง เนื่องจาก TPU จะมีต้นทุนที่สูงมากจึงทำให้มีการผลิตฟิล์ม TPH ออกมาในท้องตลาดทุกวันนี้เนื้อสัมผัสของ TPH ให้ความนิ่มและยืดหยุ่นได้ดีกว่ารุ่น PVC แต่ยังคงน้อยกว่า TPU แท้อยู่ดี ในด้านความสามารถในการกันรอยขีดข่วน กันรอยสะเก็ดหิน ทำได้ดีกว่า PVC ด้วยความหนา 120 – 200 ไมครอน ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ
TPU (Thermoplastic polyreuthane) – เป็นฟิล์มกันรอยรถยนต์ เกรดท๊อป พรีเมี่ยม ฟิล์มมีลักษณะนุ่ม ยืดหยุ่น การทดสอบง่ายๆ เมื่อถึงฟิล์มยึดออกจากกัน เวลาปล่อยฟิล์มจะกลับมาหน้าตาเหมือนเดิมไม่มียึดย้วยเหมือนรุ่น PVC หรือ TPH ด้วยคุณสมบัติการยืดหยุ่นนี้ ทำให้สามารถรับแรงกระแทกของสะเก็ดหิน ได้เป็นอย่างดี หรือแม้กระทั่ง การเบียดชนบางกรณี สามารถปกป้องรถของคุณได้อีกด้วย ด้วยความหนาของฟิล์มอยู่ที่ 150-200 ไมครอน ถ้าคิดภาพตามง่ายๆ คือหนากว่าการเคลือบแก้ว ถึงเกือบ 20 เท่าตัว อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ โดยรวมประมาณ 5-7 ปี โดยประมาณ

จริง เพราะ

  • ความยืดหยุ่นสูง: TPU มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้ล้อรถเข็นที่ทำจาก TPU เคลื่อนที่ได้อย่าง นุ่มนวลและเงียบ ลดการสั่นสะเทือนและเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน
  • ทนทานต่อการสึกหรอ: TPU มีความทนทานต่อการสึกหรอ ทำให้ล้อมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่ต้องเปลี่ยนล้อบ่อยครั้ง ช่วยลดต้นทุนการบำรุงรักษา
  • ทนต่อสภาพแวดล้อม: TPU สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ทั้งความร้อนความเย็น และความชื้น ทำให้สามารถใช้งานได้ในหลายสภาพแวดล้อมโดยไม่เกิดการเสื่อมสภาพ
  • รับน้ำหนักปานกลาง: ล้อ TPU สามารถรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 500-600 กิโลกรัม ซึ่งเหมาะสม กับการใช้งานทั่วไปในหลายๆ สถานที่ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล หรือสำนักงาน
  • มีความนุ่มนวลในการใช้งาน: ล้อ TPU มีความนุ่มนวลสูง ทำให้เคลื่อนที่ได้อย่างเงียบและไม่ทำลายพื้นผิว ลดการกระแทกและเสียงรบกวนขณะเคลื้อนที่ ช่วยรักษาสภาพพื้นผิวให้ดูดี
  • ขึ้นรูปได้ง่ายด้วยกระบวนการฉีด: ล้อ TPU สามารถผลิตได้ง่ายและรวดเร็วด้วยกระบวนการฉีด ซึ่งช่วยลดต้นทุนและเวลาในการผลิต ทำให้สามารถผลิตล้อคุณภาพสูงได้ในปริมาณมากในเวลาอันสั้น
ราคาวัสดุค่อนข้างสูง: TPU มีราคาสูงกว่าวัสดุชนิดอื่นๆ เช่น TPE หรือ Nylon

นวัตกรรมฟิล์มปกป้องสีรถยนต์ ฟิล์มกันรอยรถยนต์ คือ สิ่งที่จะปกป้องสีรถของคุณจากรอย ขีดข่วน เศษหิน ก้อนกรวด ทราย คราบแมลง และเศษวัตถุอื่นๆ ที่อาจจะกระเด็นมาโดนรถของ คุณและทำให้เกิดความเสียหายกับรถของคุณได้
(ลองนึกสภาพรถยนต์เป็นสมาร์ทโฟนนะครับ ว่าทำไมเราถึง ติดฟิล์มกันรอย ซึ่งรถยนต์นั้นมีมูลค่ามากกว่าสมาร์ทโฟนหลายเท่า)

  • ทนต่อการกระแทกได้ดีมาก
  • มีความยืดหยุ่นสูง
  • ฟิล์มไม่เปลี่ยนสี
  • ป้องกันรอยขีดข่วน
  • ซ่อมแซมรอยด้วยตัวเองได้
  • มีคุณสมบัติการไล่น้ำ
  • ทนน้ำมัน
  • ราคาสูง

ทนความร้อนได้ -40 C° ถึง 220 Co
ด้วยคุณสมบัติเด่นนี้จึงทำให้ TPU เหมาะที่จะนำผลิตเป็น PPF เพราะมีความยืดหยุ่นสูง
และทนความร้อนได้สูงถึง 220 C° จึงทำให้ PPF มีราคาสูง

ติดแทบทั้งหมดเลยนะครับบนสีรถ บริเวณสีรถติด 100% บริเวณที่เป็นเปียโนแบล็ค,
โคเมี่ยมก็ติด ในส่วนที่ติดไม่ได้ ก็จะมีชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติกสีดำด้าน
แล้วก็กระจกรอบค้น ซึ่งฟิล์มกระจก มันเป็นฟิล์มคนละประเภทกัน ฟิล์มที่ติดกระจกก็จะเป็นฟิล์มอีกประเภทนึงสำหรับติดกันสะเก็ดหิน

ไม่มีปัญหา ส่วนมากฟิล์มที่เราใช้เป็นฟิล์ม TPU ซึ่งคุณภาพกาวค่อนข้างดี จึงไม่มีผลกับสีรถตอนลอกออก เว้นแต่.รถที่ทำสีมาหรือเคลมสีมา แล็กเกอร์อาจจะมีหลุดออกมาได้ ตั้งแต่ขั้นตอนการติดตั้ง หรือตอนติดตั้งแล็กเกอร์อาจจะไม่หลุด อาจจะไปหลุดตอนลอกฟิล์มออกเพราะว่าสีที่เคลมมานี่คุณภาพไม่เท่ากับสีที่ออกมาจากโรงงาน
จะว่าไม่เหลืองเลยก็จะเป็นการหลอกลวงผู้บริโภค เหลืองแน่นอน ติดเสร็จก็ยังไม่เหลือง แต่ใช้งานไปก็อาจจะมีเหลืองบ้าง ด้วยการใช้งานของเราที่ตากแดดหรือเจอมลภาวะ ก็อาจจะทำให้เนื้อฟิล์มเหลืองบ้าง จะเหลืองช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับประเภทของฟิล์ม การใช้งาน และการบำรุง รักษา แต่..ก็จะเห็นได้ในรถสีขาว หรือสีอ่อนๆ ถ้าเป็นรถสีดำหรือสีเข้มๆหน่อยก็จะไม่เห็น จะไปเห็นตอนที่ลอกฟิล์มออก
การล้างรถไม่ว่าจะล้างเองหรือเข้าคาร์แคร์ ก็ควรที่จะระวังในเรื่องของบริเวณขอบฟิล์ม ฉีด น้ำระวังๆ ตอนเช็ดก็ระวังๆ เพราะอาจจะไปโดนขอบฟิล์มได้ ในส่วนที่พับเก็บของไว้ข้างในไม่ได้อาจจะมีการนัดกลับไปเพื่อเคลียร์มลภาวะบนฟิล์ม บำรุงรักษาเนื้อฟิล์ม เคลียร์มลภาวะบริเวณขอบฟิล์ม เพราะอาจจะมีฝุ่น มีมลภาวะตรงขอบฟิล์มบ้าง
ฟิล์มใสกันรอยให้การปกป้องที่เหนือกว่า การเคลือบเซรามิกให้การปกป้องในระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถป้องกันทางกายภาพได้เหมือน PpF PPF เป็นชั้นฟิล์มป้องกันที่หนาและทนทานกว่า ซึ่งจะปกป้องรถของคุณจากรอยขีดข่วนเศษหิน และความเสียหายทางกายภาพอื่นๆ ซึ่ง PPF แตกต่างจากการเคลื่อบเซรามิกตรงที่ PPF สามารถป้องกันพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการกระแทกสูง เช่น กันชนหน้า ฝากระโปรงหน้าและบังโคลนได้ดีกว่า คุณสมบัติการรักษาตัวเอง PPF เป็นฟิล์มป้องกันเพียงชนิดเดียวที่สามารถรักษาตัวเองจากรอยขีดข่วนและการรอยขนแมวเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดจากการใช้งานเป็นประจำ ซึ่งหมายความว่ารถของคุณจะยังคงดูดีแม้ผ่านการใช้งานมาหลายปี การเคลือบเซรามิกไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองจากรอยขีดข่วนได้หากได้รับความเสียหาย คุณต้องเข้ากระบวนการขัดและเคลือบใหม่